ประวัติท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม
(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

ชาติกำเนิด

    สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เดิมชื่อ วิริยังค์ บุญฑีย์กุล เป็นบุตรของขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับมั่น บุญฑีย์กุล (หรือ อุบาสิกามั่น; ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. 2520) เกิดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี (สถานีสระบุรีในปัจจุบัน) ต่อมาย้ายมาตั้งหลักปักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน

  1. กิมลั้ง ชูเวช
  2. ฑีฆายุ บุญฑีย์กุล
  3. สุชิตัง บุญฑีย์กุล
  4. สัจจัง บุญฑีย์กุล
  5. สมเด็จพระญาณวชิโรดม
  6. ไชยมนู บุญฑีย์กุล
  7. สายมณี ศรีทองสุข

เริ่มต้นชีวิตในวัยเด็ก

      เนื่องด้วยท่านขุนเพ็ญภาษชนารมณ์ ผู้เป็นบิดา เข้ารับราชการเป็นนายสถานีรถไฟ จึงจำเป็นจะต้องโยกย้ายที่อยู่ไปประจำที่อื่นอยู่บ่อยครั้ง ครอบครัวก็ต้องย้ายติดตามไปด้วย เมื่อครั้งบิดาได้ย้ายมาประจำอยู่ ณ สถานีรถไฟบ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมานับว่าเป็นความโชคดีของครอบครัว บุณฑีย์กุล ที่ได้มาพบกับพระอาจารย์ ฝ่ายกรรมฐานรูปสำคัญ และท่านยังเป็นถึงศิษย์ของ “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” อีกด้วย นั้นคือ “พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” และด้วยบิดามารดาของ ด.ช.วิริยังค์ เป็นผู้มีความชอบในการทำบุญ เข้าวัดฟังธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ ด.ช.วิริยังค์ จึงมีโอกาสได้ติดตามท่านทั้งสองไปวัดบ้าง แต่ก็ด้วยวัยที่ยังเด็กเกินไป ในขณะนั้นจึงทำให้ ยังไม่มีความสนใจในการปฏิบัติสมาธิเลยหากแต่ยังคงชอบเที่ยวเล่นสนุกไปตามประสาของเด็กทั่วๆ ไป ด.ช.วิริยังค์ เมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดสุปัฏนาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นของจังหวัดอุบลราชธานี ที่ต้องมาเรียนที่นี่เพราะบิดาได้รับคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติราชการ ณ สถานีรถไฟวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และที่โรงเรียนวัดสุปัฏนารามนี่เอง ด.ช.วิริยังค์ ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งกีฬา และการสมัครเป็นลูกเสือชาวบ้าน หรือแม้แต่กระทั่งเข้าโบสถ์ฟังธรรมในวันพระ แต่ด้วยความเป็นเด็กจึงไม่ได้ให้ความสนใจ ในการเข้าวัดฟังธรรมมากนัก พยายามที่จะหาวิธีหลีกเลี่ยงอยู่เป็นประจำเรียกว่า “พอหลบหนีได้ก็หลบหนีไป” กันเลยทีเดียว เมื่อ ด.ช.วิริยังค์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาพอที่จะอ่านออกเขียนได้แล้ว บิดา มารดาก็ส่งให้ไปอยู่วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดนารายณ์มหาราช) จังหวัดนครราชสีมา เพื่อฝากเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ปลัดตา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางในขณะนั้น ณ วัดกลางแห่งนี้ ด.ช.วิริยังค์ มีความมุมานะในการเรียนบาลีไวยากรณ์ เป็นอย่างมาก แต่ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด และมักจะโดนเพื่อน ๆ เด็กวัดด้วยกันกลั่นแกล้งอยู่เสมอ ๆ ทำให้ ด.ช.วิริยังค์ เคยหนีออกจากวัดมาแล้ว แต่เมื่อย้อนกลับมานึกถึงอาจารย์ปลัดตาที่ท่านรักและให้ความเมตตามาโดยเสมอทำให้ ด.ช.วิริยังค์ กลับตัวและพยายามทำดีตั้งหน้าตั้งตาเรียนบาลีไวยากรณ์กับท่านอย่างตั้งใจ 

ก่อนบวช

    วันหนึ่งขณะที่ท่านอายุประมาณ 13 ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไปต่อมนต์ (ท่องบทสวดมนต์) กับหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ 2 ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ” ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลยเบาไปหมด เห็นตัวเองมี 2 ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่งพัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่งถึงกับอุทานออกมาเองว่า “คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ” แล้วเดินกลับไปที่ร่างกลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับพระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า “เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก” ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

ต่อมาวันหนึ่งท่านทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยายามหาหมอมารักษาแต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าหมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า “ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หายจากอัมพาตได้ จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น” ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวตนหนึ่งมาถามบิดาของท่านว่า “จะรักษาลูกให้เอาไหม” บิดาก็บอกว่า “เอา” ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่าอธิษฐานดังนั้นจริงไหม ท่านก็ตอบว่าจริง จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพรมาเคี้ยว ๆ แล้วก็พ่นใส่ตัวของท่านแล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะกระดิกตัวได้ ทดลองลุกขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ 7 โมงเช้าปรากฏว่าชีปะขาวมายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาวกลับขอให้ท่านพูดถึงคำอธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้วจึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐานให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอามีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควายมาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถามว่า “ลุงเก่งไหม” ท่านก็ตอบว่า “เก่ง” ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวันเป็นเวลา 10 ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าไม่พบตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย

บรรพชาเป็นสามเณร

    สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2478 ขณะอายุ 16 ปี บรรพชา ณ วัดสุทธจินดาวรวิหาร ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ 10 วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตรายหรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ 50 กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็นพบโจรกลุ่มหนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า “พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้นก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอเลย มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอจะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกันมีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว” ปรากฏว่าพวกโจรวางมีดวางปืนทั้งหมดน้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่างนอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัวเป็นศิษย์และได้บวชเป็นตาผ้าขาวถือศีล 8 เดินธุดงค์ไปด้วยกันจนกระทั่งหมดลมหายใจในขณะทำสมาธิ

      เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี จากที่ ด.ช.วิริยังค์ ได้รับรสพระสัจธรรมอันเกิดจากสมาธิ และการสวดมนต์ภาวนา รักษาศีล ก็ยิ่งทำให้เชื่อมั่นในคุณของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นเพิ่มความศรัทธาในการที่จะออกบรรพชา เป็นสามเณรเป็นกำลัง หลังจากที่บิดามารดาได้อนุญาตแล้ว พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ จึงได้นำบวชเป็นชีปะขาว และนำไปบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ณ วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากบรรพชาแล้ว สามเณรวิริยังค์ก็มาพักอยู่ที่วัดป่าสาลวันก่อน

ซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของการเผยแผ่การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน โดยมี (พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเจ้าอาวาส เพื่อความสะดวก ในการทำหนังสือสุทธิ จากนั้นจึงลาพระอุปัชฌาย์กลับไปวัดป่าสว่างอารมณ์ตามเดิม เมื่อย้ายกลับมาวัดป่าสาลวันแล้ว สามเณรวิริยังค์ ก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างเข้มงวดเป็นอย่างมาก โดยมีพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชากรรมฐาน ส่งผลให้การบำเพ็ญความเพียรของสามเณรวิริยังค์ได้พัฒนาขึ้นไปตามลำดับอย่างน่าพอใจ นับเป็นความโชคดีอีกครั้งหนึ่งของสามเณรวิริยังค์ เนื่องจากพระอาจารย์กงมา มีกิจนิมนต์ไปกรุงเทพฯ แต่ด้วยความเป็นห่วงศิษย์ จึงนำสามเณรวิริยังค์ ไปฝากไว้กับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อฝึกปฏิบัติข้อวัตรต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติด้านสมาธิให้พัฒนายิ่งขึ้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ชื่อเป็นพระผู้มีพลังจิตแก่กล้า และที่สำคัญท่านก็ยังเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อีกด้วย 

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

   สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) อุปสมบทเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ขณะอายุ 20 ปี อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาพาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ในพรรษา 4 ปี นอกพรรษา 5 ปี รวมเป็น 9 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะอันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า “มุตโตทัย”

นับแต่บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ประพฤติธรรมฝึกปฏิบัติกรรมฐาน อุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์ อายุของสามเณรวิริยังค์ก็ล่วงเลยมาเหมาะสมแก่การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระอาจารย์กงมา ท่านจึงเมตตาจัดเตรียมการอุปสมบทให้อย่างง่าย ๆ ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ ๑ พรรษา มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าอยากที่จะพบและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ การทำสมาธิจากพ่อแม่ครูอาจารย์ “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” เป็นอย่างมาก จึงรบเร้าพระอาจารย์กงมา ให้เมตตาช่วยนำไปฝากให้ประพฤติปฏิบัติ กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพำนักอยู่ ณ วัดบ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเมือง จังหวัดสกลนคร แต่ในใจก็นึกกล้าๆ กลัวๆ เพราะได้ยินกิตติศัพท์ เล่าลือมาว่า

 

๑. ท่านอาจารย์มั่น รู้จักใจคน จะนึกจะคิดอะไรทราบหมด
๒. ท่านอาจารย์มั่น ท่านดุยิ่งกว่าใครๆ ทั้งสิ้น
๓. ท่านอาจารย์มั่น ท่านเทศนาในธรรมปฏิบัติยอดกว่าใคร ๆ ทั้งนั้น
๔. ท่านอาจารย์มั่น ท่านปฏิบัติตัวของท่านเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์อย่างเยี่ยมยอด
๕. ท่านอาจารย์มั่น ท่านจะต้องไล่พระที่อยู่กับท่านถ้าหากทำผิด แม้แต่ความผิดนั้นไม่มากแต่เป็นเหตุให้เสื่อมเสีย

          แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติสมาธิ ที่หวังจะให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ตนเองและผู้อื่น ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้แล้ว ความกลัวทั้งหลายก็ไม่อาจมาขวางกั้น ความมุ่งมั่นตั้งใจในการเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ท่านผู้ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งยุค ในด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  อย่างองค์หลวงปู่มั่น
ภูริทตฺตเถระ ลงได้เลยประกอบกับนึกถึงคำพูดของพระอาจารย์กงมา ที่ได้เมตตากล่าวแก่ท่านว่า “วิริยังค์ หลวงปู่มั่นท่านเป็นปรมาจารย์ และเป็นอาจารย์ของเรา สมาธิทุกๆ ขั้นตอน ผมได้สอนท่านไปหมดแล้ว ต่อไปนี้ท่านจะได้เรียนสมาธิกับท่านปรมาจารย์ ท่านอย่าประมาท จงปฏิบัติหลวงปู่มั่นแบบถวายชีวิต ท่านจะได้ความรู้อย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ผมสอนอีกมากนัก” พบพระอาจารย์ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ในที่สุดแล้วความปรารถนาของพระวิริยังค์ ก็สำเร็จผลดังตั้งใจ ณ วัดบ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อันเป็นสถานที่มงคลที่ท่าน ได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ มีโอกาสอยู่ศึกษาพระธรรมวินัย ข้อวัตร และการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน และในขณะเดียวกันก็ได้รับหน้าที่อันสุดประเสริฐของตัวท่านเอง คือ “การเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อยู่เป็นเวลาทั้งสิ้น ๔ ปี” ในช่วงเวลานี้เองที่ท่านได้มีโอกาสได้จดบันทึกคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อันสุดแสนประเสริฐและเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง ในชื่อหนังสือ “มุตโตทัย”

       นอกจากการได้รับโอกาสให้เป็นพระอุปัฏฐากแล้ว พระวิริยังค์ยังได้รับโอกาสครั้งสำคัญสุดในชีวิตของท่านเอง นั้นคือ การได้ออกเดินธุดงค์ กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ สองต่อสอง โดยมีจุดหมายปลายทางที่วัดเลียบ (วัดบูรพาราม) จังหวัดอุบลราชธานี อันจะเป็นสถานที่ถวายพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระมหาเถระผู้เป็นพระอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ นั่นเอง การเดินธุดงค์ร่วมกับหลวงปู่มั่นในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันสำคัญที่พระวิริยังค์ จะได้ปฏิบัติสมาธิให้พัฒนามากยิ่งขึ้น รวมถึงได้มีโอกาสเรียนถามปัญหาข้อธรรมและข้อปฏิบัติต่างๆ ทั้งตื้น ลึก หนา บาง ที่ได้นำมาสั่งสอนอบรมศิษย์ ทั้งพระภิกษุ สามเณร และฆราวาสจนถึงปัจจุบัน นับเป็นการธุดงค์ที่ล้ำค่าสุดจะประมาณนำมาพรรณนาความมิได้เลย

       นับเป็นเวลากว่า ๔ ปี ที่พระวิริยังค์ ได้อยู่อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” และที่เคยได้อุปัฏฐากรับใช้ “พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” ผู้ที่ท่านนับถือว่าเป็น พระอาจารย์องค์แรก เป็นเวลา ๘ ปี รวมเป็นเวลากว่า ๑๒ ปี ท่านได้ใช้โอกาสที่ได้รับนี้ พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ข้อวัตร และหลักการปฏิบัติสมาธิ ทั้งอย่างหยาบ อย่างละเอียด ตื้น ลึก หนา บาง จนเป็นที่แน่ใจแล้วในหลักการและแนวทางการปฏิบัติ จึงได้กราบลาพระอาจารย์แสวงหาความวิเวกส่วนตัวตามแต่โอกาสจะอำนวย แม้พระอาจารย์ก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน วิชาสมาธินี้ เป็นวิชาที่เลิศและประเสริฐโดยแท้ แต่หากจะรู้เพียงคนสองคนแม้เป็นสิ่งที่มีค่ามากเพียงใด ก็คงต้องหายไปจากโลกนี้ไปสักวัน เมื่อมานึกถึงสิ่งนี้หลวงพ่อวิริยังค์ ก็บังเกิดจิตเมตตาอยากที่จะเผยแผ่วิชาสมาธินี้ให้แก่ชาวโลก สมดังปณิธานที่มั่นคงตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้พัก ณ วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง (วัดเทพเจติยาจารย์ ในปัจจุบัน) อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ท่านได้มีเวลาทบทวนหลักการต่าง ๆ ที่ได้เคยไตร่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ จึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นมา เรียกชื่อว่า “หลักสูตรครูสมาธิ” เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓ เล่ม โดยรวมหลักการปฏิบัติอันเป็นทฤษฎี นับตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง ตามลำดับ อันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทยแล้วกว่า ๑๘๐ สาขา ในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๙) ภายใต้นาม “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” และ ขยายไปยังต่างประเทศถึง ๙ สาขา ทั้งใน ประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา

การศึกษา

       เมื่ออายุ ๑๓ ปี พุทธศักราช ๒๔๗๗ ได้บวชเป็นชีปะขาว เนื่องจากการบวชศึกษา ตั้งแต่อายุยังน้อย จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังจากนั้นบรรพชาแล้วเรียนจบ นักธรรมชั้นตรี นอกจากนั้น เป็นเวลาปฏิบัติกรรมฐาน เดินธุดงค์ตลอดระยะเวลาบรรพชา และอุปสมบท

วิทยาฐานะ

  • ประถมศึกษาปีที่ ๔
  • นักธรรมตรี

ความชำนาญการ

  • สอนสมาธิ
  • ทรงจำพระปาฏิโมกข์
  • แสดงพระธรรมเทศนา

งานการศึกษา

  • ก่อตั้งสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน
  • สร้างวิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • ก่อตั้งโรงเรียนวัดธรรมมงคล(หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดธรรมมงคล จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
  • ก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
  • ก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
  • ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลธรรมศาลา กรุงเทพมหานคร
  • สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (โครงการประทีปเด็กไทย) กว่า ๕,๐๐๐ แห่ง ทั่วประเทศ
  • สร้างสถาบันประถมศึกษาจอมทอง
  • สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนาดา

ด้านการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์

  • เป็นเจ้าอาวาสวัดทรายงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2509
  • เป็นเจ้าคณะตำบล ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2506
  • เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร สุขุมวิท 101 กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2563
  • เป็นประธานกรรมการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศแคนาดา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2563
  • เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนธรรมาราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563
  • เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าเลิศธรรมนิมิต คลอง 11 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2563
  • เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 – พ.ศ. 2563

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่ พระครูญาณวิริยะ(ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระญาณวิริยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมงคลญาณ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พ.ศ. ๒๕๖๒ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฎ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระพรหมมงคลญาณ ปูชนียฐานประยุต วิสุทธิญาณโสภณ โกศลวิเทศศาสนดิลก สาธกวิปัสสนาธุราทร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี นับเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รูปแรกของฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และรูปที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
  • พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณวชิโรดม พุทธาคมวิศิษฐ์ จิตตานุภาพพัฒนดิลก สาธกธรรมวิจิตร วิเทศศาสนกิจไพศาล วิปัสสนาญาณธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

โล่รางวัล

  • พ.ศ. ๒๕๓๕ เข้ารับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับรางวัล มูลนิธิคุณหญิงเบญจา แสงมะลิ สาขาพระสงฆ์
  • พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่นของกรุงเทพมหานคร เพชรกรุงเทพสาขาศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและการศึกษา จากกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ ฯพณฯ อิญาชิโอ ดิ ปาเช เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ทำหน้าที่ในนามรัฐบาลแห่งประเทศอิตาลี ในการทำพิธีถวายเครื่องอิสริยาภรณ์ Order of the Star of Italian Solidarity ชั้น Knight แด่พระธรรมเจติยาจารย์ ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานซีไอดีไอ(ชนาพัฒน์) เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแห่งผลงานที่ได้เสริมสร้างความร่วมมือด้วยวิชาการและวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทย ประเทศอิตาลี การมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ดังกล่าวกระทำตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งถูกนำเสนอโดยนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ พระเถระผู้มีพุทธคุณูการต่อพระพุทธศาสนาระดับกาญจนเกียรติคุณ จากคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การพระพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มอบรางวัลและเหรียญเชิดชูเกียรติ The World Fellowship of Buddhists Medal for Culture “The WFB 25th General Conference & 60th Anniversary 14-17 November B.E 2553 (2010) Colombo, Sri Lanka”
  • พ.ศ. ๒๕๕๗ รางวัลการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๖โดย ดร. นิเชต สุนทรพิทักษ์ ประธานมูลนิธิการศึกษา เพื่อสันติธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

ผลงานการสร้างวัด

๑. การสร้างวัดในประเทศไทย ประกอบไปด้วย

วัดที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ สร้างวัดบ้านห้วยแตน ตำบลหนองเหียน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ขณะอายุได้ ๒๔ ปี

วัดที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ สร้างวัดวิริยพลาราม บ้านเต่างอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

วัดที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๙๕ สร้างวัดดำรงธรรมมาราม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วัดที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสงบร่มเย็น

วัดที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สร้างวัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นวัดแรกที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ทั้งหมด ๓๒ ไร่

วัดที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

วัดที่ ๘ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท ๑๐๕ (ลาซาล) พระโขนง กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม ๑๐ ไร่

วัดที่ ๙ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซอยเสนานิคม๑ ถนนพหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

วัดที่ ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดอมาตยาราม (เขาอีโต้) จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่รวมทั้งหมด ๖๐ ไร่

วัดที่ ๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดเทพเจติยาจารย์ น้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

วัดที่ ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม สุขุมวิท ๑๐๓ (อุดมสุข) พระโขนง กรุงเทพมหานคร

วัดที่ ๑๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างวัดชูจิตรธรรมมาราม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัดอยุธยา (มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย) มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐๘ ไร่

วัดที่ ๑๔ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สร้างวัดศรีรัตนธรรมมาราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘๖ ไร่

วัดที่ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สร้างวัดป่าเลิศธรรมนิมิต ถ.ลำลูกกา คลอง ๑๑ จ.ปทุมธานี

๒. การสร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา ประกอบไปด้วย ๖ วัด ดังนี้

วัดที่ ๑๖ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สร้างวัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล ๑ เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริทิชโคลัมเบีย

วัดที่ ๑๗ ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สร้างวัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล ๒ เมืองโตรอนโต้

วัดที่ ๑๘ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างวัดธรรมวิริยาราม ๑ เมืองออตตาวา (เมืองหลวงของประเทศแคนาดา)

วัดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ สร้างวัดธรรมวิริยาราม ๒ น้ำตกไนแองการ่า เมืองออนโตริโอ

วัดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สร้างวัดธรรมวิริยาราม ๓ เมืองแอตมันตัน รัฐอัลเบอร์ต้า

วัดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างวัดธรรมวิริยาราม ๔ เมืองแคลการี

วัดที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙-๙๑ สร้างวัดมณีคีรีวงค์ (กงษีไร่) จังหวัดจันทบุรี 

รวมแล้วพระพรหมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร สร้างวัดในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งหมด ๒๑ วัด

๓. การสร้างวิทยาลัยสงฆ์
แห่งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
แห่งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สร้างวิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน สาขาน้ำตกแม่กลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผลงานอื่นๆ ที่สำคัญ

  • สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทยวัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
  • สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
  • สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
  • สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง

ผลงานอื่นๆ ที่สำคัญ

  • มุตโตทัย บันทึกคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
  • ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ
  • ชีวิตต้องสู้
  • คุณค่าของชีวิต
  • พระพุทธรูปหยกเขียว
  • 5 ฉลอง
  • หลักสูตรครูสมาธิ 3 เล่ม เล่ม 1,2,3
  • หลักสูตรครูสมาธิ – ชั้นสูง
  • หลักสูตรญาณสาสมาธิ
  • หลักสูตรอุตตมสาสมาธิ
  • ใต้สามัญสำนึก

มรณภาพ

         เมื่อวันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สมเด็จพระญาณวชิโรดม ได้เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาได้ให้การรักษาอย่างใกล้ชิดร่วมกับการทำกายภาพบำบัด อาการเริ่มดีขึ้นสลับกับคงที่ตามลำดับมา จนกระทั่งวันเสาร์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีอาการทรุดลงและได้มรณภาพด้วยอาการสงบด้วยโรคชรา ในวันอังคาร ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07.32 น. สิริอายุได้ 100 ปี 11 เดือน 15 วัน 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานโกศมณฑป เพื่อประกอบเกียรติยศ ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปยังอาคารบุญญาวาส วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร เขตพระโขนง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระญาณวชิโรดม วิริยังค์ สิรินธโร หลังจากที่ทรงพระราชทานน้ำหลวงสรงศพเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานสุกรรมศพ(มัดตราสังข์)ลงสู่หีบ จากนั้นเชิญไปประดิษฐานหลังโกศพระราชทาน

อ้างอิง

  1. หนังสืออัตชีวประวัติ พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร), 2552, หน้า 61
  2. http://www.samathi.com/2016/history.php
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 72, ตอนที่ 95 ง, 13 ธันวาคม 2498, หน้า 3013
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 84, ตอนที่ 128 ง ฉบับพิเศษ , 30 ธันวาคม 2510, หน้า 4
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101 ฉบับพิเศษ, วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535, หน้าที่ 5-6
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 119, ตอนที่ 23 ข , 11 ธันวาคม 2545, หน้า 3
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 128, ตอนที่ 12 ข , 29 กรกฎาคม 2554, หน้า 1
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสถาปนาสมศักดิ์เล่ม 137 ตอนที่ 31 ข, 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 

Biography of Phra Prommongkolyarn (Luangphor Viriyang Sirintharo)
Luangphor Viriyang Sirintharo

Lord Abbot of Wat Dhammamongkol Temple, Bangkok
Patriarch of the Dhammayutttika Order in Canada

Luangphor Viriyang Sirintharo is an esteemed Theravada Buddhist monk from Thailand who is internationally renowned as a Master Teacher of Meditation with over 80 years of experience. Luangphor Viriyang Sirintharo’s mission is to reduce world conflict and increase harmony in relationships by teaching people of all faiths the benefits of meditation in promoting emotional well-being and achieving inner peace. Luangphor Viriyang Sirintharo has guided countless devotees toward enlightenment with the establishment of many new Buddhist temples, schools, and meditation centers in Thailand and North America for the benefit of all living beings.

Luangphor Viriyang Sirintharo was born on January 7, 1920 in Saraburi, Thailand. He later moved along with his parents and six siblings to Nakhorn Ratchasima in northeastern Thailand, where his father was the manager of the train station. At the age of 13, he met his first spiritual mentor, Phra Ajarn Gong Ma, the Abbot of a local temple, wherein Luangphor Viriyang Sirintharo encountered a largely unexpected and transformative experience with the practice of meditation, which would deepen with devotion throughout his monastic life. Luangphor Viriyang Sirintharo realized that he had received the insights and benefits of meditation without extensive instruction, years of practice, or formal education in religion—therefore, Luangphor Viriyang Sirintharo continues to emphasize in his teachings that meditation is suitable for people of all faiths and backgrounds, and that it can be practiced by everyone regardless of faith, education, race, age, or gender.

As a young boy, Luangphor Viriyang Sirintharo was stricken with a serious illness, which threatened his life; thankfully, a kindly ascetic healer, referred to simply as “White Robe,” intervened on his behalf in a manner that helped him heal physically and heightened his dedication to follow the Buddha’s path for the betterment of humankind. From this miraculous event, Luangphor Viriyang Sirintharo found refuge in Buddhism, and he became a scholar of the Buddha’s teachings, including the ancient Pali and classical Sanskrit texts. At the age of 16, Luangphor Viriyang became an ordained novice and he followed his mentor, Phra Ajarn Gong Ma, on a journey across Thailand’s rainforests and jungles, observing stringent Dhutanga austerities—ascetic practices of the Thai Forest Tradition of Theravada Buddhism—for the next 8 years. At the age of 20, he was ordained as a Buddhist monk in Chantaburi. Following the 8 years of his Dhutanga austerities, Luangphor Viriyang was introduced to, Phra Ajarn Gong Ma’s mentor, the esteemed Luangpu Mun (the Venerable Acariya Mun Bhuridatta Thera) in Sakon Nakorn. Luangphor Viriyang would spend the next 4 years studying advanced meditation practices; and with his esteemed teacher’s permission, he would later publish a scholarly collection of Luangpu Mun’s teachings called “Mutthothai.

In the early 1960s, Luangphor Viriyang Sirintharo took up residence on a swampy piece of ground on the outskirts of Bangkok, where he eventually founded the Theravada Buddhist temple, Wat Dhammamongkol, which was completed by his many supporters in 1985. Since then, this temple project, which includes the tallest stupa in Thailand, has expanded to more than 25 acres of beautiful gardens, classrooms, dormitories, and meditation facilities. The Wat Dhammamongkol temple is currently home to approximately 500 monks whom Luangphor Viriyang oversees as the Lord Abbot.

Luangphor Viriyang’s close affiliation with Canada began in 1991 when he had a vision that a huge jade boulder would be found submerged in the water; he envisioned that such an enormous gemstone could indeed be found and carved into a statue of the Meditating Buddha. Following the discovery of a 32-ton block of jade in a riverbed in British Columbia, Canada, Luangphor Viriyang raised the funds needed to purchase this amazing gemstone and had it carved into the largest jade Buddha statue on earth, as well as sculpting a somewhat smaller jade statue of the bodhisattva Guanyin, known as the “Goddess of Mercy” in English. Both grand statues are currently located in Wat Dhammamongkol temple in Bangkok; and as Luangphor Viriyang Sirintharo says: “The true value of the Buddha image is to remind us of the Buddha’s teachings” (aka Dharma).

This auspicious connection with Canada was further enhanced by Luangphor Viriyang as he expanded development of Meditation Centers across the country. The first Thai Theravada Buddhist temple, Yannaviriya 1, was founded in Vancouver in 1992; the second temple, Yannaviriya 2, was introduced in Toronto in 1993; the third, the Dhammaviriya 1, was established in Ottawa in 1995. There are currently six Theravada Buddhist temples where meditation courses are available in Edmonton, Vancouver, Calgary, Niagara Falls, Richmond Hill, Toronto and Ottawa.

Theravada: literally means, “the doctrine of the elders,” or simply “the Teaching of the Senior Monks,” is the oldest branch of Buddhism. The Theravada is relatively conservative and largely adherent to the original teachings and rules of monastic discipline laid down by the Buddha. More recently, Luangphor Viriyang established the Willpower Institute Meditation Centers, which are located in each of Luangphor Viriyang’s affiliated temples in Canada, as well as Houston, Dallas, and Los Angeles in the U.S.A. By extending these revered Buddhist traditions from Thailand to North America, Luangphor Viriyang has advanced the enlightened philosophy of Buddhism, thethe training of meditation instructors, and the beneficial of practice of meditation to people of all faiths.